วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หน่วยความจำภายนอก


หน่วยความจำ (อังกฤษComputer memoryคือ อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์
หน่วยความจำแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำถาวร และ หน่วยความจำชั่วคราว ตัวอย่างของหน่วยความจำถาวรก็เช่น หน่วยความจำแบบแฟลช และหน่วยความจำพวกรอม ตัวอย่างของหน่วยความจำชั่วคราวก็คือพวกหน่วยความจำหลัก เช่น DRAM (แรมชนิดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน) และแคชของซีพียูซึ่งทำงานได้รวดเร็วมาก (ปกติเป็นแบบ SRAM ซึ่งเร็วกว่า กินไฟน้อยกว่า แต่มีความจุต่อพื้นที่น้อยกว่า DRAM[1])



ดิสก์แม่เหล็ก 
    ดิสก์สร้างขึ้นมาจากวัสดุที่ไม่มีสนามแม่เหล็ก เป็นรูปจานกลมเรียบ เรียกว่า แกน (substrate) แล้วนำมาเคลือบด้วยสารเหนี่ยวนำแม่เหล็ก ในปัจจุบันได้หันมาใช้แกนที่ทำจากแก้ว ซึ่งคุณสมบัติที่เหนือกว่า คือ
     - แก้วมีผิวที่เรียบกว่าโลหะชนิดอื่น จึงช่วยให้การฉาบสารแม่เหล็กนั้นมีความเรียบมากกว่าทำให้แผ่นดิสก์มีความน่าเชื่อถือสูงขึ้น
     - ช่วยลดความผิดพลาดทางการผลิต ทำให้การบันทึกข้อมูลและการอ่านข้อมูลมีข้อผิดพลาดน้อยลง
     - สามารถสนับสนุนอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติ fly height ลดลง ทำให้มีความเที่ยงตรงในการทำงานมากขึ้น
     -มีความแข็งมากกว่า ช่วยในการลดอาการแกว่งตัวของดิสก์
     -มีความทนทานต่อแรงสั่นสะเทือน และรอยขูดขีดมากกว่า

กลไกในการอ่านและบันทึกข้อมูลบนสื่อแม่เหล็ก
    ข้อมูลถูกบันทึกลงบนแผ่นดิสก์ และสามารถอ่านกลับมาใช้งานได้ในภายหลัง โดยผ่านอุปกรณ์เรียกว่า หัวอ่าน/เขียนข้อมูล (head) ซึ่งมักจะแยกออกจากกันเป็น หัวอ่านข้อมูล (read head) และหัวบันทึกข้อมูล (write head)ในระหว่างที่มีการอ่านหรือบันทึกข้อมูล หัวอ่านหรือบันทึกข้อมูลจะนิ่งอยู่กับที่ ในขณะที่   แผ่นดิสก์นั้นจะหมุนไปเรื่อย ๆ อยู่ข้างใต้

การจัดโครงสร้างของข้อมูลและการฟอร์แมท

     หัวอ่าน/บันทึกข้อมูล จัดเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถอ่านข้อมูลหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์ที่หมุนรอบตัวเองได้ การทำงานในลักษณะนี้ทำให้การบันทึกข้อมูลบนแผ่นดิสก์มีลักษณะเป็นวงแหวนขนาดต่าง ๆ ซึ่ง  เรียกว่า ร่องบันทึกข้อมูล (tracks) ซึ่งมีขนาดเท่ากับ   หัวอ่าน/บันทึกข้อมูล โดยปกติมีจำนวนร่องบันทึกข้อมูลนับพันร่องต่อแผ่นดิสก์หนึ่งด้าน


     การจัดโครงสร้างของข้อมูลและการฟอร์แมท

รูปแสดงแผนการวางข้อมูลบนแผ่นดิสก์



รูปแสดงแผนการวางข้อมูลบนแผ่นดิสก์


คุณลักษณะทางกายภาพ
          แผ่นดิสก์จะถูกยึดติดไว้กับตัวขับดิสก์ (disk drive) ซึ่งประกอบด้วยแขนกลที่มีหัวอ่าน/บันทึกติดอยู่ มีแกนกลางซึ่งใช้เป็นตัวหมุนดิสก์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้สำหรับการบันทึกหรืออ่านข้อมูล ดิสก์ที่ติดตั้งแบบถาวร (non-removable disk) นั้นแผ่นดิสก์จะเป็นส่วนหนึ่งของตัวขับดิสก์ ไม่สามารถแยกจากกันได้

      สำหรับดิสก์ส่วนใหญ่จะฉาบสารแม่เหล็กไว้ทั้งสองด้านของแผ่นดิสก์ ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งสองด้านซึ่งเรียกว่า “double sided” ในขณะที่ดิสก์รุ่นเก่าบางชนิดจะเป็นแบบด้านเดียวหรือ “single-sided
รูปแสดงส่วนประกอบของตัวขับดิสก์

รูปแสดงแกนเวลาการทำงานของการถ่ายเทข้อมูล 
เวลาค้นหา (Seek time)
      เวลาค้นหา หมายถึง ระยะเวลาที่ตัวขับดิสก์ใช้ในการเคลื่อนหัวอ่าน/บันทึก จากตำแหน่งที่อยู่ในขณะนั้นไปยังตำแหน่งร่องบันทึกข้อมูลที่ต้องการ เวลาค้นหาประกอบด้วยสองส่วนคือระยะเวลาขั้นต้นที่เริ่มขยับแขนกล และระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนหัวอ่าน/บันทึกข้ามร่องบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เมื่อแขนกลเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่





ค่าประกอบประสิทธิภาพของดิสก์
      รายละเอียดในการทำงานไอโอของดิสก์นั้น ขึ้นอยู่กับระบบคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ และคุณลักษณะของช่องสื่อสารไอโอและหน่วยควบคุมดิสก์





หน่วยความจำและที่เก็บข้อมูล

ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
      คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีอุปกรณ์ดิสก์ไดรฟ์หนึ่งชุดหรือมากกว่าสำหรับใช้เก็บข้อมูลลงบนดิสก์แบบโลหะหรือแบบพลาสติก ฮาร์ดดิสก์สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมหาศาล ซึ่งได้แก่ ภาพถ่าย วิดีโอ เพลง เอกสาร โปรแกรม และอื่นๆ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของคอมพิวเตอร์คุณจะเก็บข้อมูลไว้แม้ในตอนที่ปิดคอมพิวเตอร์ไปแล้ว สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ให้ดูที่ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และการติดตั้งหรือเอาฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ออก









ฮาร์ดดิสก์ภายนอก

      วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะเพิ่มเนื้อที่ฮาร์ดดิสก์ให้กับพีซีของคุณคือ เสียบฮาร์ดดิสก์ภายนอกเข้ากับพีซี ฮาร์ดดิสก์ภายนอกเป็นอุปกรณ์ที่ดีมากสำหรับการจัดเก็บภาพถ่ายดิจิทัล วิดีโอ เพลง และแฟ้มขนาดใหญ่อื่นๆ จำนวนมาก คุณสามารถใช้อุปกรณ์นี้เสริมพื้นที่เก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ในคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในกรณีที่ฮาร์ดดิสก์ภายในของคุณเหลือพื้นที่น้อย นอกจากนี้ ฮาร์ดดิสก์ภายนอกยังเหมาะสำหรับการจัดเก็บสำเนาสำรองของแฟ้มสำคัญๆ อีกด้วย 







RAM

      หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (RAM) คือพื้นที่การจัดเก็บชั่วคราวที่คอมพิวเตอร์ของคุณใช้ในการเรียกใช้Windows และโปรแกรมอื่นๆ RAM ไม่ได้ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ RAM คือปริมาณพื้นที่จัดเก็บที่มีอยู่บนฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ของคุณ ซึ่งจะต่างกับเนื้อที่ดิสก์


  





USB แฟลชไดรฟ์

     USB (Universal Serial Bus) แฟลชไดรฟ์ คือ อุปกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถพกพาและใช้เสียบเข้ากับ USBพอร์ตของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ USB แฟลชไดรฟ์ใช้จัดเก็บข้อมูลเช่นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ แต่โดยปกติแล้ว USB แฟลชไดรฟ์จะเก็บข้อมูลได้น้อยกว่าฮาร์ดไดรฟ์มาก USB แฟลชไดรฟ์จะมีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกันไป และเก็บข้อมูลได้หลายกิกะไบต์ บางครั้งอาจมีการเรียกว่า ธัมป์ไดรฟ์ เพราะมีขนาดและรูปร่างคล้ายกับนิ้วโป้งของคน ไดรฟ์ชนิดนี้สามารถพกพาได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง USB แฟลชไดรฟ์ หรือเรียกอีกอย่างว่า เพนไดรฟ์ไดรฟ์พวงกุญแจคีย์ไดรฟ์ หรือ การ์ดหน่วยความจำ





การ์ดหน่วยความจำ

      การ์ดหน่วยความจำแฟลช จะจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ เช่น ข้อความ รูปภาพ และเพลง คุณสามารถลบและใช้การ์ดหน่วยความจำซ้ำได้หลายครั้ง กล้องดิจิทัลส่วนใหญ่จะเก็บรูปภาพและวิดีโอไว้ที่การ์ดหน่วยความจำ คอมแพ็คแฟลช หรือการ์ด Secure Digital (SD)






ซีดีไดรฟ์และดีวีดีไดรฟ์

     คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้เกือบทุกเครื่องจะมีซีดีไดรฟ์หรือดีวีดีไดรฟ์มากับเครื่องด้วย โดยปกติติดตั้งอยู่ด้านหน้าของหน่วยระบบ ซีดีไดรฟ์ใช้แสงเลเซอร์ในการอ่าน (เรียก) ข้อมูลจากแผ่นซีดี นอกจากนี้ซีดีไดรฟ์หลายตัวยังสามารถเขียน (บันทึก) ข้อมูลลงบนแผ่นซีดีได้ด้วย ถ้าคุณมีดิสก์ไดรฟ์แบบบันทึกได้ คุณสามารถเก็บสำเนาแฟ้มทั้งหลายของคุณลงบนแผ่นซีดีเปล่า และยังใช้ซีดีไดรฟ์เล่นซีดีเพลงจากคอมพิวเตอร์ของคุณได้เช่นกันดีวีดีไดรฟ์สามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างที่ซีดีไดรฟ์ทำได้ และยังสามารถอ่านแผ่นดีวีดีได้ด้วย ถ้าคุณมีดีวีดีไดรฟ์ คุณสามารถดูภาพยนตร์หรือเล่นซีดีเพลงที่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ดีวีดีไดรฟ์หลายๆ ตัวบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดีเปล่าได้







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น