วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การนำข้อมูลเข้าและออก

      
         หน่วยรับส่งข้อมูลเข้าออกทำหน้าที่เป็นตัวกลางการถ่ายเทข้อมูลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์กับโลกภายนอก โดยโลกภายนอกจะหมายถึงอุปกรณ์บริวารประเภทต่างๆ เช่น แป้นพิมพ์ จอภาพ เครื่องพิมพ์

               จอภาพ                                                                           คีย์บอร์ด
       เครื่่งพิมพ์

        หน่วยรับเข้าและส่งออกข้อมูล หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้โดยรับคำสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้แล้วแปลงให้อยู่ในรูปแบบสัญญาณไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจก่อนที่จะประมวลผลอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูล มีดังนี้


                                 คีย์บอร์ด                                        เมาส์      



        หน่วยรับเข้าและส่งออกข้อมูลหน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้โดยรับคำสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้แล้วแปลงให้อยู่ในรูปแบบสัญญาณไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจก่อนที่จะประมวลผลอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูล มีดังนี้

                            ลำโพง                                        อุปกรณ์ฉายภาพ                      


หน่วยส่งออก (Output Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ น่าผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงานของหน่วยประมวลผลกลางไปแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้ใช้สามารถเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็น หน่วยส่งออก มีดังนี้

หน่วยรับข้อมูลเข้าออก แต่ละหน่วยจะเชื่อมต่ออยู่กับบัสหลัก คือ บัสตำแหน่งบัสข้อมูลและบัสควบคุมดังนั้นการบ่งชื่อหรือตำแหน่งของหน่วย รับส่งข้อมูลเข้าออกสามารถทำได้สองวิธี วิธีแรกจัดให้หน่วยรับส่งข้อมูลเข้าออกเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำหลัก จึงสามารถที่จะใช้ คำสั่ง ส่งข้อมูลเข้าออกหน่วยรับส่งข้อมูลเข้าออกได้ เช่นเดียวกับคำสั่งที่ใช้กับหน่วยความจำปกติ วิธีที่สองทำโดยการจัดวงจร เพิ่มเติมเพื่อบ่งตำแหน่งหรือรหัสประจำหน่วยรับส่งข้อมูลเข้าออกกรณีนี้ จะต้องใช้คำสั่งเฉพาะของหน่วยรับส่งข้อมูลเข้าออก


การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงปกติจะไม่สามารถเชื่อมต่อเข้าโดย ตรงกับบัสหลัก แต่จะต่อผ่านโมดุลไอโอโดยมีเหตุผลดังน
  - อุปกรณ์ต่อพ่วงมีอยู่จำนวนมาก ซึ่งมีวิธีทำงานที่แตกต่างกันทำให้ไม่มีความเหมาะสมในการปล่อยให้ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานอุปกรณ์ทั้งหมด
  -อัตราการถ่ายเทข้อมูลของอุปกรณ์ต่อพ่วงนั้นช้ากว่า ความเร็วในการทำงานของซีพียูมากดังนั้นจึงเป็นการไม่เหมาะสมที่ จะต่ออุปกรณ์เหล่านี้เข้ากับบัสโดยตรง
  - อัตราการถ่ายเทข้อมูลของอุปกรณ์บางชนิด สูงกว่าความเร็ว ของหน่วยความจำหลักหรือแม้กระทั่งซีพียูซึ่งก็ไม่เหมาะสมที่จะนำอุปกรณ์เหล่านี้ต่อเข้าโดยตรงกับบัสเช่นกัน
  - โครงสร้างข้อมูลหรือขนาดของเวิร์ดไม่เหมือนกับรูปแบบหรือ ขนาดที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้อยู่
รูปแบบการรับและส่งข้อมูล
มีการรับส่งข้อมูลอยู่ 2 ระบบ ได้แก่ การรับส่งข้อมูลแบบ ขนานหรืออาจเรียกว่า PIO (parallel Input / Output) ซึ่งจะ สามารถรับส่งข้อมูลได้ครั้งละหลายบิต เช่น 4, 8, 16 หรือ 32 บิต นอกจาก การรับส่งข้อมูลแล้ว จะต้องมีการแลกเปลี่ยนสัญญาณ ควบคุมระหว่างหน่วยรับส่งข้อมูลเข้าออกและอุปกรณ์ต่อพ่วงด้วยทั้งนี้เพื่อรักษาจังหวะในการถ่ายเทข้อมูล ระหว่างหน่วยรับส่ง ข้อมูลเข้าออกและอุปกรณ์ต่อพ่วง สัญญาณควบคุมมีประโยชน์มาก เพราะโดยปกติ อุปกรณ์ต่อพ่วงจะมีการท างานในอัตราที่ช้ากว่า ระบบคอมพิวเตอร์หากระบบคอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็วจนอุปกรณ์ต่อพ่วงรับไม่ทัน ก็จะเกิดการสูญหายของ ข้อมูล
หน้าที่และโครงสร้างของหน่วยรับ และส่งข้อมูลเข้าออก
หน้าที่ของหน่วยรับและส่งข้อมูล หน่วยรับส่งข้อมูลเข้าออกหรือโมดูลไอโอ จะเป็นตัวคั่นกลางระหว่างระบบ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ดังนั้นโมดูลไอโอซึ่งทำหน้าที่บริการทั้งสองด้านหน้าที่หลักของโมดูลไอโอสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
   – การควบคุมและรักษาจังหวะการทำงาน
   - การสื่อสารกับโปรเซสเซอร์และสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วง
   - การจัดการบัฟเฟอร์
  - การตรวจสอบข้อผิดพลาด
การควบคุมการถ่ายเทข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอกมายังโปรเซสเซอร์อาจจะเกี่ยวพันกับการทำงานดังนี้
  - โปรเซสเซอร์ทำการติดต่อกับโมดูลไอโอเพื่อตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ที่ต้องการใช้งาน
   - โมดูลไอโอส่งข้อมูลแสดงสถานะกลับมาให้
  - ถ้าอุปกรณ์นั้นสามารถใช้งานได้และพร้อมที่จะถ่ายเทข้อมูล โปรเซสเซอร์จะร้องขอถ่ายเทข้อมูลผ่านการออกคาสั่งไปยัง โมดูลไอโอ
  - โมดูลไอโอได้รับข้อมูลชุดแรก (8 บิตหรือ16 บิต)มาจาก อุปกรณ์ภายนอก
   - ข้อมูลถ่ายเทจากโมดูลไอโอต่อไปกับโปรเซสเซอร์ ถ้าระบบคอมพิวเตอร์มีบัสหลักใช้งาน การโต้ตอบระหว่าง โปรเซสเซอร์และโมดูลไอโอจะเกี่ยวข้องกับการถือครองบัสเหตุการณ์ที่สมมติยังแสดงให้เห็นว่าโมดูลไอโอจะต้องสื่อสารกับ โปรเซสเซอร์และสื่อสารกับอุปกรณ์ภายนอกการสื่อสารกับโปรเซสเซอร์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้
  - การถอดรหัสคำสั่ง(command decoding) โมดูลไอโอรับ คำสั่งจากโปรเซสเซอร์ซึ่งปกติจะส่งสัญญาณมาทางบัสควบคุมการ ทำงาน(control bus)ตัวอย่างเช่นโมดูลไอโอสำหรับขับดิสก์จะรับคำสั่งเช่น READ SECTOR,WRITE SECTOR,SEEK track number,และ SCAN record ID คำสั่งสองำสั่งหลังจำเป็นต้องมี การส่งผ่านตัวกำหนดค่ามาด้วย ซึ่งจะส่งมาทางบัสสำหรับถ่ายเทข้อมูล
  - ข้อมูล (Data) โปรเซสเซอร์จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมดูล ไอโอ ผ่านทางบัสสำหรับถ่ายเทข้อมูล - การรายงานสถานะ (status reporting) เนื่องจาก อุปกรณ์ต่อพ่วง มักจะมีความเร็วต่างมาก จึงมีความจำเป็นต้อง ทราบสถานการณ์ทำงานของอุปกรณ์ ตัวอย่างเช่น ถ้าโมดูลไอโอถูกสั่งให้อ่านข้อมูลส่งมาให้โปรเซสเซอร์ อุปกรณ์ดังกล่าวอาจจะยังไม่ว่าง
   เนื่องจากกำลังให้บริการคำสั่งที่มาก่อนหน้านี้ ข้อเท็จจริงข้อนี้ สามารถส่งยังโปรเซสเซอร์ผ่านทางสัญญาณสถานะการทำงาน ซึ่ง โดยทั่วไปมีอยู่สองอย่างคือ BUSY (ไม่มีการรับรู้ที่อยู่) (address recognition) อุปกรณ์ไอโอก็คล้ายกับหน่วยความจำคือแต่ละเวิร์ดจะมีหมายเลขที่อยู่เฉพาะเป็นของตนเองนั้นคืออุปกรณ์ไอโอแต่ละชิ้น จะต้องมี หมายเลขเฉพาะสาหรับการอ้างอิงเป็นของตนเอง ดังนั้นโมดูลไอโอจะต้องสามารถรับรู้หมายที่อยู่เฉพาะของอุปกรณ์ แต่ละชนิดได
การควบคุมไอโอด้วยโปรแกรม
       โมดูลไอโอแต่ละโมดูลมีความแตกต่างกันมากมายหลายแบบขึ้นอยู่ กับชนิดและการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วงจำนวนอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงโมดูลที่ จะควบคุมได้ในที่นี้จะกล่าวถึงรูปแบบทั่วไปเท่านั้นแสดงบล็อกไดอะแกรมของโมดูลไอโอทั่วไป โมดูลไอโอจะมีส่วนที่เชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์โดยผ่านบัสหลักได้แก่ บัสข้อมูล บัสต าแหน่งและบัสควบคุม ข้อมูลที่ส่งผ่านโมดูล จะผ่านบัฟเฟอร์ที่เป็นรีจีสเตอร์ข้อมูล ซึ่งรีจีสเตอร์นี้จะทำหน้าที่พักข้อมูลที่รับจากซีพียูเพื่อส่งไปให้อุปกรณ์ต่อพ่วงหรือทำหน้าที่รับข้อมูลจากอุปกรณ์ต่อ พ่วงเพื่อส่งไปให้ซีพียู
การควบคุมไอโอด้วยโปรแกรม
       วิธีการทำงานของไอโอมีอยู่สามวิธี วิธีแรกคือการควบคุมด้วย โปรแกรม(programmed I/O) ข้อมูลจะเกิดการแลกเปลี่ยนระหว่าง โปรเซสเซอร์กับโมดูลไอโอ โปรเซสเซอร์จะประมวลผลโปรแกรมที่เป็น การออกค าสั่งโดยตรงเกี่ยวกับการท างานของไอโอรวมทั้งการตรวจสอบ สถานะของอุปกรณ์ การสั่งอ่านหรือบันทึกข้อมูล และการถ่ายเทข้อมูล เมื่อโปรเซสเซอร์ออกคำสั่งไปยังโมดูลไอโอ โปรเซสเซอร์จะต้องรอจนกว่า การตอบสนองต่อคำสั่งนั้นจะสิ้นสุด ถ้าโปรเซสเซอร์ทำงานได้เร็วกว่า โมดูลไอโอโปรเซสเซอร์จะต้องรอจนกว่าการตอบสนองต่อคำสั่งนั้นจะ สิ้นสุด ถ้าโปรเซสเซอรทำางานได้เร็วกว่าโมดูลไอโอ การรอคอยนี้จะเป็น การเสียเวลาของโปรเซสเซอร์เป็นอย่างยิ่ง วิธีที่สองเรียกว่า การควบคุมไอ โอผ่านกระบวนการอินเทอร์รัพท์(Interrupt-drivenI/O) โปรเซสเซอร์จะ ออกคำสั่งไอโอ แล้วหันกลับไปประมวลผลคำสั่งอื่นต่อไป เมื่อโมดูลไอโอ ทำงานที่ได้รับมอบนั้นเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะส่งสัญญาณผ่านอินเทอร์รัพท์มาบอกให้ทราบ
คำสั่งที่ต้องการให้อุปกรณ์ต่อพ่วงปฏิบัติจะมี 4 อย่างด้วยกันคือ
   - การควบคุม (Control) ใช้ในการกระตุ้นให้อุปกรณ์ไอโอ พร้อมที่จะปฏิบัติงาน และบอกให้ทราบว่าจะต้องทำงานอะไร ตัวอย่างเช่น หน่วยเทปแม่เหล็กอาจได้รับคำสั่งให้ม้วนเทปกลับหรือ หมุนเทปไปข้างหน้าหนึ่งระเบียน คำสั่งเหล่านี้จะได้รับการปรับแต่ง ให้มีความเหมาะสมกับอุปกรณ์แต่ละชนิด
    - การทดสอบ (Test) ใช้สำหรับการทดสอบสถานะการทำงานหลาย อย่างของโมดูลไอโอและอุปกรณ์ โปรเซสเซอร์จะต้องการทราบว่าอุปกรณ์ที่ ต้องการใช้งานนั้น มีความพร้อมใช้งานอยู่หรือไม่ หรือต้องการทราบว่าคำสั่งที่ ให้ปฏิบัติก่อนหน้านี้ได้เสร็จเรียบร้อยหรือยัง หรือว่ามีข้อผิดพลาดใด ๆ เกิดขึ้น หรือไม่ - การอ่านข้อมูล (Read) จะทำให้โมดูลไอโออ่านข้อมูลมาจาก อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงและใส่เข้าไว้ในบัฟเฟอร์ จากนั้นโปรเซสเซอร์จะสามารถนำ ข้อมูลไปใช้ โดยออกคำสั่งให้โมดูลไอโอใส่ข้อมูลเข้าไปในบัสนสั่ - การบันทึกข้อมูล (Write) จะทำให้โมดูลไอโอนำข้อมูล (ไบต์ หรือ เวิร์ด) จากบัสนำส่งข้อมูล ไปส่งต่อให้กับอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต้องการ
การควบคุมไอโอด้วยอินเทอร์รัพท์
     การควบคุมไอโอด้วยโปรแกรม โดยทั่วไปจะไม่เป็นที่นิยมเพราะซีพียู จะต้องเสียเวลามาคอยตรวจสอบสถานการณ์ทำงานของโมดูลไอโออยู่ตลอดเวลาในความเป็นจริงแล้วควรจะปล่อยให้ซีพียูทำงานตาม โปรแกรมหลัก ต่อเมื่อจะป้อนข้อมูลให้ซีพียู จึงแจ้งหรือขัดจังหวะซีพียู ให้มาบริการอุปกรณ์ต่อพ่วงนั้น ๆ ชั่วคราว แล้วจึงกลับไปทางานหลักต่อวิธี ดังกล่าวนี้คือหลักการของการอินเทอร์รัพท์
การประมวลผลโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ (ก่อนเกิดอินเทอร์รัพท์) ประกอบด้วย
  1. สถานะการทำงานของโปรเซสเซอร์ซึ่งเก็บอยู่ในรีจีสเตอร์ตัวหนึ่ง เรียกว่า Program status word (PSW)
  2. ตำแหน่งของคำสั่งต่อไปที่จะถูกประมวลผล ซึ่งเก็บอยู่ใน รีจีสเตอร์เรียกว่า Program counter (PC) ข้อมูลเหล่านี้อาจถูกเก็บในสแต็กควบคุมการท างานของระบบ)
การเข้าถึงหน่วยความจำโดยตรง
      ข้อเสียของระบบไอโอที่ใช้กลไกอินเทอร์รัพท์และไอโอที่โปรแกรมควบคุม แม้ว่าการควบคุมไอโอที่ใช้กลไกอินเทอร์รัพท์จะมีประสิทธิภาพมากกว่าการควบคุม โดยใช้โปรแกรมแต่ก็ยังต้องอาศัยการท างานของโปรเซสเซอร์ในการถ่ายเทข้อมูลระ ระหว่างหน่วยความจำและโมดูลไอโอ นั้นคือข้อมูลทั้งหมด (ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหรือ การบันทึกข้อมูล) จะต้องเดินทางผ่านโปรเซสเซอร์เสมอ ทำให้เกิดประประสิทธิภาพ ต่อเนื่องจาก - อัตราการถ่ายเทข้อมูล จะถูกกำจัดโดยความเร็วที่โปรเซสเซอร์สามารถ จะให้บริการแก่อุปกรณ์นั้นๆได้ - โปรเซสเซอร์จะถูกดึงให้มาท างานในระหว่างการถ่ายเทข้อมูล ไอโอโปรเซสเซอร์จะต้องทำการประมวลผลคำสั่งจำนวนหนึ่งสำหรับการถ่ายเทข้อมูล ไอโอแต่ละครั้ง
การเชื่อมต่อโมดูลไอโอกับอุปกรณ์ต่อพ่วง
         การติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ภายนอกหรืออุปกรณ์ต่อ พ่วง ซึ่งมีอยู่มากหมายหลายประเภท เช่น แป้นพิมพ์ เครื่องพิมพ์ สแกน โมเด็ม เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะต้องอาศัยช่องทาง (port) สำหรับส่งถ่าย ข้อมูล พอร์ตหรือช่องทางนี้มีการท างานอยู่สองแบบ คือ ท างานแบบอนุกรม (serial) และทำงานแบบขนาน (parallel) ในการท างานของส่วนเชื่อมต่อ แบบขนานจะมีสายสัญญาณหลายเส้นเชื่อมต่อระหว่างโมดูลไอโอและ อุปกรณ์ต่อพ่วงทำให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้หลายบิตพร้อมๆกัน
             ส่วนการเชื่อมต่อแบบอนุกรมจะมีสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว เท่านั้นที่ใช้ในการถ่ายโอนข้อมูล ซึ่งจะถูกส่งออกครั้งละหนึ่งบิต การ เชื่อมต่อแบบขนานมักจะใช้ เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงที่สามารถทำได้ อย่างรวดเร็ว เช่น ฮาร์ดดิสก์หรือเทปแม่เหล็ก ในขณะที่การเชื่อมต่อแบบ อนุกรมจะนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่มีความเร็วต่าง เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ เป็นต้น ในปัจจุบันได้มีการขยายการเชื่อมต่อแบบอนุกรมความเร็วสูงสุด ขึ้นมาใช้งาน ซึ่งจะทำให้การเชื่อมต่อแบบขนานมีความสำคัญลดลง การ เชื่อมต่อแบบอนุกรม ความเร็วสูงที่กำลังได้รับ ความนิยมก็คือ USB และ FireWire มาตรฐานการเชื่อมต่อ USB USB ย่อมาจาก Universal Serial Bus เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์
มาตรฐานการเชื่อมต่อ FireWire
       การเชื่อมต่อแบบไฟร์ไวร์(Fi-Wi) เป็นการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วง แบบอนุกรม ที่กำลังได้รับความนิยมอีกแบบหนึ่งนอกจากจะเป็นมาตรฐาน การเชื่อมต่อในระบบคอมพิวเตอร์แล้วยังนำไปใช้เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อ อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ในบ้านได้อีก ได้แก่ อุปกรณ์เกี่ยวกับภาพ เสียง และเกมส์เป็นต้น ในปัจจุบันความเร็วของโปรเซสเซอร์ขึ้นไปถึงระดับ GHz หรือ พันล้านเฮิรตซ์ต่อวินาที ในขณะที่อุปกรณ์บันทึกข้อมูลก็สามารถบันทึกข้อมูลได้ใน ระดับ gigabyte หรือ พันล้านไบต์ ทำให้ความต้องการทางไอโอสำหรับเครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เครื่องเวิร์คสเตชัน และเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพิ่มขึ้นอย่างมาก
สรุป
     หน่วยรับส่งข้อมูลเข้าออก ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง การถ่ายเทข้อมูล ระหว่างระบบคอมพิวเตอร์กับโลกภายนอก หรือเป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่าง ระบบคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ ต่อพ่วง ซึ่งอาจเรียกว่า อุปกรณ์อินเตอร์เฟส เนื่องจากชุดอุปกรณ์ดังกล่าวประกอบขึ้นเป็นโมดูลชุดวงจรอีเล็กทรอนิกส์ จึงเรียกว่า โมดูลไอโอ การรับส่งข้อมูลของโมดูลไอโอจะทำได้สองรูปแบบ คือ การรับส่งข้อมูลแบบขนาน การรับส่งแบบนี้ทั้งด้านที่ติดต่อกับซีพียูและด้านที่ ติดต่อกับอุปกรณ์ ต่อพ่วง จะเป็นการรับส่งแบบขนานทั้งสองด้าน การรับส่ง จะกระทำได้ตั้งละหลายบิต อีกรูปแบบหนึ่งเป็นการรับส่งแบบอนุกรม การรับส่งแบบนี้ทางด้านนี้ติดต่อกับซีพียูจะเป็นการรับส่งแบบขนานส่วนทางด้านอุปกรณ์ต่อพ่วงจะเป็น การรับส่งแบบอนุกรมซึ่งจะรับส่งครั้งละหนึ่งบิต โครงสร้างหน่วยรับส่ง ข้อมูล จะมีส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ รีจีสเตอร์ข้อมูล ซึ่งจะทำหน้าที่ เป็นตัวพักข้อมูล รีจีสเตอร์สถานะและรีจีสเตอร์ควบคุม ซึ่งจะควบคุม และให้จังหวะการท างานของโมดูลไอโอ นอกจากนั้นก็จะมีวงจรลอจิก เพื่อเชื่อมต่อเข้าระบบบัสของคอมพิวเตอร์ และเชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ต่อ พ่วงการควบคุมการท างานของโมดูลไอโอ จะทำได้ 3 วิธี ได้แก่ การควบคุมด้วยโปรแกรม การควบคุมด้วยอินเทอร์รัพท์และการควบคุม ด้วย ดีเอ็มเอ วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด ได้แก่ ดีเอ็มเอ แต่อย่างไรก็ตามการ ท างานจริงก็ยังใช้ทั้ง 3 วิธี มาตรฐานการเชื่อมต่อ USB และ FireWire เป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม ซึ่งปัจจุบันเป็นมาตรฐานหนึ่งที่ถูกติดตั้งมา กับระบบคอมพิวเตอร์ USB ให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้ที่ 1.5 – 12 Mbps สามารถต่อพ่วงอุปกรณ์ได้มากถึง 127 อุปกรณ์ ส่วน FireWire ความเร็วในการรับส่งอยู่ที่ 200 – 800 Mbps และต่อพ่วงอุปกรณ์ได้ถึง 63 อุปกรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น